เมนู

จริงอยู่ การออกจากฌานทั้งหมด ย่อมมีด้วยภวังค์. แต่การ
ออกจากนิโรธ ย่อมมีด้วยผลสมาบัติอย่างเดียว.

ข้อนี้ ชื่อว่า การออก อันเป็นปาลีมุตตกะ (คือนอกจากบาลี) ดังนี้ แล.
อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ 7 จบ

อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ 8


ในนิทเทสญาณเป็นกำลังข้อที่ 8 คำว่า ปุพฺเพนิวาสํ (ระลึกชาติ
หนหลัง) เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งไว้เป็นอเนก ข้าพเจ้าให้พิสดาร
แล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ.
อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ 8 จบ

อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ 9


แม้ในนิทเทสแห่งญาณเป็นกำลังข้อที่ 9 คำทั้งปวงว่า ทิพฺเพน
จกฺขุนา
เป็นต้น พิสดารแล้วในวิสุทธิมรรคนั่นแหละ.
อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ 9 จบ

อธิบายญาณเป็นกำลังข้อที่ 10


คำว่า เจโตวิมุตฺตึ ได้แก่ ผลสมาธิ. คำว่า ปญฺญาวิมุตฺตึ ได้แก่
ผลญาณ. คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีอรรถตื้นทั้งนั้น แล.
นี้เป็นกถาที่เสมอกันของอาจารย์ทั้งหลายในที่นี้ก่อน.
ก็ปรวาที กล่าวว่า ชื่อว่า ทศพลญาณ แยกออกเป็นส่วนหนึ่งไม่มี
นี้เป็นประเภทของสัพพัญญุตญาณ ข้อนั้นมิพึงเห็นอย่างนั้น เพราะว่า ทศพล-

ญาณเป็นอย่างหนึ่ง สัพพัญญุตญาณก็เป็นอย่างหนึ่ง. ก็ทศพลญาณย่อมรู้ซึ่ง
กิจ (หน้าที่) ของตน ๆ เท่านั้น ส่วนสัพพัญญุตญาณ ย่อมรู้แม้ซึ่งกิจอัน
ทศพลญาณรู้แล้วนั้น และย่อมรู้ซึ่งกิจแม้อันเหลือจากทศพลญาณรู้แล้วนั้น
ด้วย.
จริงอยู่ ในบรรดาทศพลญาณเหล่านั้น ญาณที่หนึ่งย่อมรูซึ่งธรรม
อันเป็นเหตุและมิใช่เหตุเท่านั้น.

ญาณที่ 2 ย่อมรู้ซึ่งความแตกต่างกันแห่งธรรมและวิบาก
เท่านั้น.

ญาณที่ 3 ย่อมรู้การกำหนดความเป็นไปแห่งธรรมเท่านั้น.
ญาณที่ 4 ย่อมรู้เหตุแห่งความเป็นต่าง ๆ กันแห่งธาตุเท่านั้น.
ญาณที่ 5 ย่อมรู้ซึ่งอัธยาศัยและความน้อมไปแห่งจิตเท่านั้น.
ญาณที่ 6 ย่อมรู่ซึ่งความที่อินทรีย์ทั้งหลายเป็นธรรมแก่กล้า
และอ่อนเท่านั้น.

ญาณที่ 7 ย่อมรู้ซึ่งความที่แห่งสัตว์ทั้งหลายมีความเศร้า
หมองเป็นต้น ด้วยฌานเป็นต้นเท่านั้น.

ญาณที่ 8 ย่อมรู้ซึ่งความสืบต่อแห่งขันธ์อันเคยอาศัยมาแล้ว
ในกาลก่อนเท่านั้น.

ญาณที่ 9 ย่อมรู้ซึ่งจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายเท่านั้น.
ญาณที่ 10 ย่อมรู้ซึ่งการกำหนดสัจจะเท่านั้น
ส่วนสัพพัญญุตญาณ ย่อมรู้ทั่วซึ่งธรรมอันทศพลญาณเหล่า
นั้นพึงรู้ด้วย ซึ่งธรรมอันยิ่งกว่าทศพลญาณนั้นด้วย. ก็แต่ว่า
สัพพัญญุตญาณนั้น ย่อมไม่ทำกิจทั้งปวงของทศพลญาณเหล่านั้นได้

ด้วยว่า สัพพัญญุตญาณนั้น เป็นฌานแต่ไม่อาจเพื่อแน่วแน่ (แนบ
แน่น) เป็นอิทธิแต่ไม่อาจเพื่อแสดงฤทธิ์ เป็นมรรคแต่ไม่อาจเพื่อ
ยังกิเลสทั้งหลายให้สิ้นไป ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ปรวาที พึงถามอย่างนี้ว่า ชื่อว่า ทศพลญาณนี้ เป็นไป
กับด้วยวิตกและวิจาร ไม่มีวิตกมีแต่เพียงวิจาร ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เป็นกามา-
วจร เป็นอรูปาวจร เป็นโลกิยะ หรือเป็นโลกุตตระ ดังนี้.
ตอบว่า ผู้รู้ก็จักกล่าวว่า ญาณทั้ง 7 ตามลำดับ คือตั้งแต่ ฐานา-
ฐานญาณเป็นต้น) เป็นไปกับด้วยวิตกและวิจาร ดังนี้ ต่อจากนั้น จักกล่าวว่า
ญาณทั้ง 2 ข้างหน้า (คือบุพเพนิวาสานุสสติญาณ และจุตูปปาตญาณ) ไม่มี
วิตก และวิจาร ดังนี้ ต่อจากนั้น ก็จักกล่าวว่า อาสวักขยญาณพึงเป็นไป
กับด้วยวิตกและวิจารก็มี ไม่มีวิตกมีแต่วิจารก็มี เป็นอวิตักกะและอวิจาระก็มี
ดังนี้ โดยทำนองเดียวกัน ญาณ 7 โดยลำดับตั้งแต่ฐานาฐานญาณเป็นต้น
เป็นกามาวจร ญาณ 2 จากนั้นเป็นรูปาวจร ญาณสุดท้ายเป็นโลกุตตระ ดังนี้.
แต่สัพพัญญุตญาณ จักกล่าวว่า เป็นไปกับด้วยวิตกและวิจารเท่านั้น เป็น
กามาวจรเท่านั้น1 เป็นโลกิยะเท่านั้น ดังนี้.
ด้วยประการฉะนี้ ทศพลญาณจึงเป็นอย่างหนึ่ง สัพพัญญุต-
ญาณก็เป็นอย่างหนึ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้แล.

อรรถกถาญาณวิภังคนิทเทส จบ

1. มหากิริยาญาณสัมปยุต

17. ขุททกวัตถุวิภังค์


เอกกมาติกา


[849] ความมัวเมาในชาติ ความมัวเมาในโคตร ควานมัวเมาใน
ความไม่มีโรค ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ความมัวเมาในชีวิต ความ
มัวเมาในลาภ ความมัวเมาในสักการะ ความมัวเมาในการทำความเคารพ
ความมัวเมาในความเป็นหัวหน้า ความมัวเมาในบริวาร ความมัวเมาในโภค-
สมบัติ ความมัวเมาในวรรณะแห่งสรีระและคุณความดี ความมัวเมาในการ
ศึกษา ความมัวเมาในปฏิภาณ ความมัวเมาในความเป็นผู้รัตตัญญู ความ
มัวเมาในความถือบิณฑบาตเป็นวัตร ความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น ความ
มัวเมาในอิริยาบถ ความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์ ความมัวเมาในยศ ความมัวเมา
ในศีล ความมัวเมาในฌาน ความมัวเมาในศิลปะ ความมัวเมาในความมี
ทรวดทรงสูง ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด ความมัวเมาในความมี
ทรวดทรงงาม ความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์ ความมัวเมา ความ
ประมาท ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความอยากได้เกินประมาณ ความมักมาก
ความปรารถนาลามก การพูดเสียดแทง การพูดเกียดกัน การชอบตกแต่ง
การประพฤติไม่สมควร ความไม่ยินดี ความโงกง่วง ความบิดกาย ความ
เมาอาหาร ความย่อหย่อนแห่งจิต การหลอกลวง การพูดประจบ การแสดง
นิมิต การพูดติเตียน การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ ความสำคัญตนว่าเลิศกว่า
เขา ความสำคัญตนว่าเสมอเขา ความสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา ผู้เลิศกว่าเขา
สำคัญกว่าเลิศกว่าเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญ